เมนู

ประโยชน์ทั้งหมดอยู่ในอำนาจของผู้อื่น นำทุกข์
มาให้ ความเป็นใหญ่ทั้งหมดนำสุขมาให้ เมื่อมี
สาธารณประโยชน์ที่จะพึงให้สำเร็จ สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมเดือดร้อน เพราะว่ากิเลสเครื่องประกอบสัตว์
ทั้งหลาย ก้าวล่วงได้โดยยาก.

จบวิสาขาสูตรที่ 9

อรรถกถาวิสาขาสูตร



วิสาขาสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุพฺพาราเม ได้แก่ในอารามที่สร้างไว้ในที่ เหมือนอุตตม-
เทวีวิหารแห่งอนุราธบุรี ด้านทิศตะวันออกของกรุงสาวัตถี. บทว่า
มิคารมาตุ ปาสาเท แปลว่า ในปราสาทของมิคารมารดา. ในข้อนั้น
มีอนุบุพพิกถาดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล ในที่สุดแสนกัป อุบาสิกาคนหนึ่ง เห็นพระทศพล
พระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงสถาปนาอุบาสิกาคนหนึ่งไว้ในตำแหน่ง
อัครอุปัฏฐายิกาของพระองค์ จึงทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายทาน
แก่ภิกษุแสนหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน กระทำความนอบน้อมต่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า ในอนาคตขอให้หม่อมฉัน
เป็นอัครอุปัฏฐายิกาของพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์. เธอท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา จึง
ถือปฏิสนธิในครรภ์ของ สุมนเทวี ในคฤหาสน์ของธนัญชัยเศรษฐี ผู้เป็น

บุตรของ เมณฑกเศรษฐี ในภัททิยนคร. ก็ในเวลาที่นางเกิด ชนทั้งหลาย
ได้ขนานนามของเธอว่า วิสาขา. ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ภัตทิยนคร เธอพร้อมด้วยทาริกา 500 คน ไปต้อนรับพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ได้เป็นพระโสดาบัน เพราะการได้เฝ้าครั้งแรกนั่นเอง.
ครั้นภายหลัง เธอไปยังคฤหาสน์ของ ปุณณวัฒนกุมาร ผู้เป็นบุตร
ของมิคารเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี มิคารเศรษฐีผู้เป็นพ่อผัวตั้งเธอไว้ใน
ฐานะเป็นมารดา โดยเป็นผู้มีอุปการะในคฤหาสน์นั้น. เพราะฉะนั้น เขา
จึงขนานนามว่า มิคารมารดา. เธอสละเครื่องประดับ ชื่อว่า มหาลดา
ของตนโดยใช้ทรัพย์ 9 โกฏิสร้างปราสาทประดับไว้ 1,000 ห้อง คือพื้น
ชั้นบน 500 ห้อง พื้นชั้นล่าง 500 ห้อง ณ พื้นที่ประมาณ 1 กรีส
เพื่อเป็นที่ประทับและเป็นที่อยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในปราสาทของมิคารมารดา.
บทว่า โกจิเทว อตฺโต แปลว่า ประโยชน์บางอย่าง. บทว่า รญฺเญ
แปลว่า พระราชา. บทว่า ปฏิพทฺโธ แปลว่า เนื่องถึงกัน. พวกญาติของ
นางวิสาขาส่งสิ่งของเช่นนั้น อันวิจิตรด้วยแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น
จากตระกูลญาติไปเพื่อเป็นบรรณาการแก่นาง. สิ่งของนั้นพอถึงประตูเมือง
พวกเก็บส่วยจึงเก็บส่วย ณ ที่นั้น แต่ไม่เก็บให้พอควรแก่สิ่งของนั้น เก็บ
เอาเกินไป. นางวิสาขาได้ฟังดังนั้น ประสงค์จะทูลความนั้นแก่พระราชา
จึงได้ไปยังพระราชนิเวศน์พร้อมด้วยบริวารพอสมควร, ขณะนั้น พระ-
ราชาพร้อมด้วยพระนางมัลลิกาเทวี ได้เสด็จไปภายในพระตำหนัก, นาง
วิสาขาเมื่อไม่ได้โอกาส จึงคิดว่า เราจักได้ในบัดนี้ เราจักได้ในบัดนี้
เป็นผู้ขาดการบริโภคอาหารเพราะเลยเวลาบริโภค จึงหลีกไป. แม้นางจะ

ไปอย่างนี้ถึง 2-3 วันก็ไม่ได้โอกาสเลย. ดังนั้น พระราชาแม้เขาจะไม่
กราบทูลให้ทรงทราบ ก็เรียกว่า พระองค์ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จตาม
ความประสงค์ เพราะไม่ได้โอกาสที่จะทำการวินิจฉัยความนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาธิปฺปายํ แปลว่า ตามควรแก่ความ
ประสงค์. บทว่า น ตีเรติ แปลว่า ยังไม่ตกลง. จริงอยู่ มหาอุบาสิกา
มีความประสงค์จะถวายส่วยอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชาแก่พระราชาแล้วสละ
สิ่งของพวกนี้ ความประสงค์นั้น พระราชายังมิได้พิจารณา เพราะพระองค์
ยังมิได้เห็นเลย. ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าเสียสละ. บทว่า
ทิวา ทิวสฺส แปลว่า ในเวลากลางวัน อธิบายว่า ในเวลาเที่ยง. มหา-
อุบาสิกาเมื่อจะแสดงความนี้ว่า หม่อมฉันไปยังประตูพระราชนิเวศน์ 2-3
วัน ในเวลากลางวัน ด้วยกรณียกิจบางอย่าง เข้าไปหาโดยไร้ประโยชน์
ทีเดียว เพราะความนั้นยังไม่ตกลง แต่การเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
เท่านั้น มีประโยชน์เพราะเป็นเหตุให้ได้ทัสนานุตริยะเป็นต้น เพราะ
เหตุนั้น หม่อมฉันจึงมาในที่นี้ในเวลานี้ พระเจ้าข้า ดังนี้ จึงกราบทูล
คำมีอาทิว่า อิธ เม ภนฺเต.
บทว่า เอตมตฺถํ ความว่า ทรงทราบเนื้อความนี้ กล่าวคือ การ
สำเร็จความประสงค์โดยเนื่องกับผู้อื่น. ด้วยบทว่า อิมํ อุทานํ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงโทษและอานิสงส์ในความเป็นไป
ที่อาศัยผู้อื่นกับไม่อาศัยผู้อื่น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพํ ปรวสํ ทุกฺขํ ความว่า อรรถคือ
ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นไปในอำนาจของคนอื่น คือเนื่องกับ
คนอื่น จัดว่าเป็นทุกข์ คือนำทุกข์มาให้ เพราะไม่อาจให้สำเร็จตามความ

ปรารถนาของตน. บทว่า สพฺพํ อิสฺสริยํ สุขํ ความว่า ความเป็นใหญ่
มี 2 อย่าง คือเป็นโลกิยะ 1 โลกุตระ 1. ในสองอย่างนั้น ความเป็นใหญ่
ฝ่ายโลกิยะ มีความเป็นใหญ่แห่งพระราชาเป็นต้น และความเป็นใหญ่
แห่งจิต อันเกิดจากฌาน และอภิญญาฝ่ายโลกิยะ. ความเป็นใหญ่ฝ่าย
โลกุตระ ได้แก่ความเป็นใหญ่แห่งนิโรธ อันมีการบรรลุมรรคและผล
เป็นนิมิต. ในความเป็นใหญ่เหล่านั้น ความเป็นใหญ่ในมนุษย์อันมีความ
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเป็นที่สุด 1 ความเป็นใหญ่เป็นอธิบดีในหมู่เทพ
นั้น ๆ แห่งท้าวสักกะเป็นต้น 1 ทั้งสองอย่างนั้น แม้ถ้าชื่อว่าเป็นสุข
เพราะมีสุขเป็นนิมิต โดยสำเร็จตามความปรารถนาด้วยอานุภาพแห่งกรรม
แต่ถึงกระนั้น จะชื่อว่าเป็นสุขอย่างแท้จริง โดยประการทั้งปวงก็หาไม่
เพราะเป็นทุกข์โดยมีความแปรปรวนไป. อนึ่ง ความเป็นใหญ่ทางจิตอัน
เกิดจากโลกิยฌานเป็นต้น ชื่อว่าไม่เป็นสุขอย่างแท้จริง เพราะมีความไม่
เที่ยงเป็นที่สุด. ส่วนความเป็นใหญ่แห่งนิโรธเท่านั้น ชื่อว่ามีความเป็นสุข
อย่างแท้จริง เพราะไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม และเพราะไม่มีการหมุนกลับ
(นิโรธ) เป็นสภาวะ. ก็ในที่นี้ พระศาสดาทรงหมายเอาสุขทางใจที่ได้
โดยไม่เนื่องกับสิ่งอื่นในทุกสถานทีเดียว จึงตรัสว่า สพฺพํ อิสฺสริยํ สุขํ
ความเป็นใหญ่ทั้งปวงนำมาซึ่งความสุข.
บทว่า สาธารเณ วิหญฺญนฺติ นี้ เป็นบทไขความแห่งบทนี้ว่า
สพฺพํ ปรวสํ ทุกฺขํ ประโยชน์ทั้งปวงที่อยู่ในอำนาจของผู้อื่นนำความทุกข์
มาให้. ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ เมื่อประโยชน์ทั่วไปที่จะพึงให้สำเร็จมีอยู่
สัตว์เหล่านี้ชื่อว่าเดือดร้อน คือถึงความคับแค้น ลำบาก เพราะไม่สำเร็จ
ตามความประสงค์ เหตุประโยชน์นั้นเนื่องด้วยผู้อื่น. ถามว่า เพราะเหตุ

ไร ? ตอบว่า เพราะกิเลสเครื่องประกอบล่วงได้โดยยาก. อธิบายว่า
เพราะเหตุที่กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ อันบุคคล
ให้เกิดมีตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้ ชื่อว่าล่วงได้ยาก เพราะผู้ที่ไม่ได้สั่งสม
กุศลสมภารมาไม่สามารถจะละได้, ในโยคะเป็นต้นนั้น ทิฏฐิโยคะอัน
บุคคลพึงล่วงได้ด้วยปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค) กามโยคะอันบุคคลพึง
ล่วงได้ด้วยมรรคที่ 3 (อนาคามิมรรค) โยคะนอกนี้อันบุคคลพึงล่วงได้
ด้วยมรรคอันเลิศ (อรหัตมรรค). ดังนั้น โยคะเหล่านี้จึงชื่อว่าล่วงได้ยาก
เพราะอริยมรรคทั้งหลายบรรลุได้ยาก เพราะฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่า
เดือดร้อน เพราะเหตุที่ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ด้วยอำนาจกามโยคะเป็นต้น
อธิบายว่า ก็เมื่อความเป็นใหญ่แห่งจิต และความเป็นใหญ่แห่งนิโรธมีอยู่
แม้ในกาลไร ๆ ความคับแค้นก็เกิดไม่ได้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺพํ ปรวสฺสํ ความว่า ประโยชน์กล่าว
คือความเป็นไปของตนเนื่องด้วยผู้อื่นและผู้อื่นเนื่องกับคนทั้งหมดนั้น ชื่อ
ว่าเป็นเหตุนำทุกข์มาให้ เพราะมีความไม่เที่ยงเป็นสภาวะ. สมจริงดังคำ
ที่ท่านกล่าวไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์. บทว่า สพฺพํ อิสฺสริยํ
ความว่า พระนิพพานอันเป็นที่สลัดออกจากสังขตธรรมทั้งปวง อันได้
นามว่าอิสริยะ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความเป็นใหญ่ ทั้งหมดนั้นแยกเป็น
สอุปาทิเสสนิพพานเป็นต้น ชื่อว่า นำมาซึ่งความสุข. สมจริงดังที่ตรัส
ไว้ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. บทว่า สาธารเณ
ความว่า เมื่อกำหนดทุกข์และสุขได้อย่างนี้ สัตว์เหล่านี้ย่อมเดือดร้อนจม
อยู่ในเหตุแห่งทุกข์อันทั่วไปแก่ทุกข์มากมาย. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบ
ว่า เพราะกิเลสเครื่องประกอบล่วงได้ยาก อธิบายว่า เพราะเหตุที่กาม-

โยคะเป็นต้นเหล่านั้นเป็นเหตุให้จมลงในทุกข์ทั้งปวงเป็นอันล่วงได้ยาก
ฉะนั้น วิสาขา แม้เธอปรารถนาประโยชน์ที่เนื่องกับผู้อื่น เมื่อไม่ได้ ก็
เดือดร้อน.
จบอรรถกถาวิสาขาสูตรที่ 9

10. กาฬิโคธาภัททิยสูตร



ว่าด้วยอุทานว่าสุขหนอ ๆ



[68] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน ก็สมัยนั้น
แล ท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีพระนามว่า กาฬิโคธา
อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี ได้เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า
สุขหนอ สุขหนอ ภิกษุเป็นอันมากได้ฟังท่านพระภัททิยะพระโอรสของ
พระราชเทวีกาฬิโคธา อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี เปล่ง-
อุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นได้พากัน
ปริวิตกว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านพระภัททิยะพระโอรสของ
พระราชเทวีกาฬิโคธา ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่ต้องสงสัย ท่าน
อยู่ป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี คงหวนระลึกถึงความสุขใน
ราชสมบัติเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน จึงได้เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า
สุขหนอ สุขหนอ ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระภัททิยะ
พระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธา คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์โดย